เสาเข็มเจาะ

 

เสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กพื้นที่หน้าตัดรูปวงกลมก่อสร้างในพื้นดินโดยการเจาะ ซึ่งมีหลายวิธี เสาเข็มเจาะมีหน้าที่ ถ่ายเทแรงที่โครงสร้างอาคารลงในชั้นดินที่ความลึกต่างๆ ไปถึงชั้นดินที่มีความแข็งแรง นอกจากนี้เสาเข็มเจาะยังสามารถออกแบบให้ต่อเนื่องกันเป็นกำแพงกันดินสำหรับงานขุดบ่อเพื่อรื้อย้ายอุปสรรคที่อยู่ใต้ดินหรือเป็นกำแพงกันน้ำ เสาเข็มเจาะมีหลายขนาด ความยาว วัสดุที่ใช้ทำ วิธีการก่อสร้างขึ้นอยู่กับประเภทและลักษณะของงาน

 

ขึ้นอยู่กับ ความยาว เส้นผ่าศูนย์กลาง วัสดุ รูปแบบ และการวางตำแหน่งของเสาเข็มแต่ละต้น ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้

Methods

 

เป็นวิธีก่อสร้างที่มีปลอกเหล็กป้องกันหลุมพัง แบบบางส่วนหรือเสาเข็มที่มีปลอกเหล็กเต็มต้นแบบแห้ง หรือและเสาเข็มเจาะระบบเปียก การเจาะวิธีนี้ อุปกรณ์เจาะจะติดตั้งอยู่กับแกนเจาะที่สามารถยืด – หดได้ การเจาะจะทำทีละขั้นตอนจนถึงความลึกที่กำหนด ถ้ามีปลอกเหล็กเต็มต้น อาจจะต้องเจาะนำเพื่องติดตั้งปลอกเหล็กก่อน ต่อจากนั้นจึงเจาะดินออก จนถึงความลึกปลายเสาเข็มที่ต้องการ

 

เสาเข็มปลายบาน คือ เสาเข็มซึ่งปลายล่างมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่าขนาดเสาเข็ม ซึ่งเป็นการทำให้พื้นที่หน้าตัดที่ปลายเสาเข็มรับแรงเพิ่มขึ้น ในชั้นดินที่มีความสามารถในการรับแรงจากโครงสร้างได้ ขนาดของปลายบานสามารถคำนวณได้ ตามน้ำหนักจากโครงสร้างอาคารที่ต้องการ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของชั้นดินที่รองรับในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้การเพิ่มกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะ สามารถทำได้โดยการอัดน้ำปูนด้านข้างเสาเข็ม ทำให้เพิ่มแรงเสียดทานที่พื้นผิวด้านข้างเสาเข็ม ได้

 

เป็นวิธีเจาะแบบใช้สว่านยาวตลอดในชั้นดินแข็ง โดยใช้หัวสว่านต่อเนื่อง CFA แกนสว่านเป็นท่อกลวง หลังจากเจาะถึงระยะลึกที่กำหนด จะเทคอนกรีตลงตามช่องว่างที่อยู่ในแกนสว่านเพื่อหล่อเสาเข็มภายในหลุม

 

เป็นวิธีการเจาะหลุมโดยใช้หัวสว่านต่อเนื่องและติดตั้งปลอกเหล็กป้องกันหลุมพัง ตามมาตรฐานงานเจาะ DIN 4014 / EN 1536

 

เป็นวิธีที่พัฒนาขึ้นเพื่อก่อสร้างเสาเข็มอาคารสร้างใหม่ติดกับอาคารเดิมที่มีอยู่แล้วหรือในสถานที่ชุมชน เป็นวิธีก่อสร้างที่เหมือน เสาเข็มสว่านเจาะต่อเนื่องและมีปลอกเหล็ก แต่เสาเข็มขนาดเล็กกว่า

สื่อ

ข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจ